พลังแห่งศาสตร์อายุรเวท: เจาะลึกสมุนไพรเบื้องหลังเครื่องดื่ม ชา Samahan

พลังแห่งศาสตร์อายุรเวท: เจาะลึกสมุนไพรเบื้องหลังเครื่องดื่ม ชา Samahan

ศาสตร์อายุรเวท (Ayurveda) คือศาสตร์แห่งชีวิต ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบการแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ถือกำเนิดขึ้นในประเทศอินเดีย โดยยึดหลักความสมดุลระหว่างร่างกาย จิตใจ และวิญญาณ มุ่งเน้นการป้องกันโรคและรักษาสุขภาพผ่านวิธีธรรมชาติ

 

แก่นแท้ของศาสตร์นี้ที่เรียกกันว่า “ 5 เสาหลักของศาสตร์อายุรเวท” ประกอบไปด้วย

  1. ธาตุ: วาตะ (ลม) ปิตตะ (ไฟ) และกัปหา (ดิน/น้ำ) เป็นพลังงานชีวภาพสามชนิด เชื่อว่าควบคุมระบบภายในของร่างกาย ซึ่งเมื่อธาตุไม่สมดุลจะเกิดอาการเจ็บป่วย
  2. ปัญจกรรม: เทคนิคการล้างพิษห้าอย่าง ได้แก่ การล้วงอาเจียน การถ่ายท้อง การสวนทวารหนัก การปล่อยเลือด และการสวนล้างโพรงจมูก เพื่อฟื้นฟูความสมดุล
  3. อาหาร: เลือกสรรตามธาตุ เน้นอาหารบางชนิดและหลีกเลี่ยงบางชนิด เพื่อสุขภาพทางเดินอาหารที่ดีที่สุด
  4. วิถีชีวิต: โยคะ สมาธิ และกิจวัตรประจำวัน ช่วยรักษาความสมดุล
  5. ตำรับยาสมุนไพร: ส่วนผสมจากธรรมชาติ เช่น ขมิ้น อัศวคนธ์ และกะเพรา ช่วยรักษาโรคเฉพาะและแก้ไขความไม่สมดุล

 

ชา Samahan เครื่องดื่มสมุนไพรตามหลักของศาสตร์อายุรเวท (Ayurveda)

Samahan เป็นเครื่องดื่มชาสมุนไพร ที่มีส่วนผสมอ้างอิงตามตำรับยาของศาสตร์อายุรเวท โดยมีส่วนผสมมากถึง 14 ชนิด แต่ละชนิดมีบทบาทและประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร ลองมาวิเคราะห์กัน:

 ส่วนผสมสมุนไพรที่ช่วยเรื่องระบบทางเดินหายใจ

  1. เสนียด (Acanthaceae): สมุนไพรชนิดนี้ มีชื่ออีกอย่างว่า Malabar Nut มีฤทธิ์ขับเสมหะ ขยายหลอดลม จึงมีคุณค่าในการรักษาอาการไอ หลอดลมอักเสบ และโรคทางเดินหายใจ ตำรับยาอายุรเวทยกย่องว่ามีคุณสมบัติในการละลายเสมหะและบรรเทาอาการคัดจมูก
  2. ชะเอมเทศ (Fabaceae): รากชะเอมเทศ มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ และขับเสมหะ ช่วยรักษาปัญหาทางเดินหายใจ

ส่วนผสมสมุนไพรที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

  1. แห้ม (Menispermaceae): พืชวงศ์เดียวกับบอระเพ็ด รากที่มีรสขมของมันมีฤทธิ์ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
  2. ขิง (Zingiberaceae): มีคุณสมบัติในการย่อยอาหาร ต้านการอักเสบ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

ส่วนผสมสมุนไพรที่ช่วยเรื่องระบบย่อยอาหาร ล้างสารพิษตกค้าง

  1. ข่า (Zingiberaceae): ข่าชวา มีสรรพคุณมากมาย ขึ้นชื่อในด้านฤทธิ์ต้านการอักเสบและกระตุ้นการย่อยอาหาร ใช้ในตำรับยาอายุรเวทเพื่อรักษาอาการคลื่นไส้ ท้องอืด และไม่สบายท้อง
  2. เทียนเยาวพาณี (Apiaceae): หรือเรียกว่า Ajowan มีกลิ่นหอมแรง ในทางอายุรเวทยกย่องว่ามีสรรพคุณในการขับลม แก้ท้องอืด และบรรเทาอาการปวดท้อง ช่วยระบบย่อยอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ผักชีลา (Apiaceae): เมล็ดผักชีลา นอกจากใช้ปรุงอาหารยังมีบทบาทสำคัญทางด้านอายุรเวท โดยมีคุณสมบัติในการย่อยอาหาร ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และต้านอนุมูลอิสระ
  4. ดีปลี (Piperaceae): มีคุณสมบัติในการย่อยอาหาร ขับลม บรรเทาอาการท้องอืด และเสริมสร้างระบบทางเดินหายใจ บรรเทาอาการไอ
  5. พริกไทยดำ (Piperaceae): เครื่องเทศที่พบเจอได้ทั่วไป มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการย่อยอาหาร เพิ่มการดูดซึมสารอาหาร ต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบ
  6. หัวฆ้อนกระแต (Verbenaceae): ยาสมุนไพรอเนกประสงค์นี้ เรียกว่า Agnimantha มีความสำคัญทางด้านอายุรเวท เนื่องจากคุณสมบัติในการกระตุ้นการย่อยอาหาร ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และต้านการอักเสบ
  7. ยี่หร่า (Apiaceae): เครื่องเทศที่พบได้บ่อย โดดเด่นทางด้านอายุรเวท ด้วยคุณสมบัติช่วยในการย่อยอาหาร กระตุ้นเอ็นไซม์ย่อยอาหาร ช่วยล้างสารพิษ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และต้านการอักเสบ
  8. มะเขือขื่น (Solanaceae): มะเขือสีเหลือง เรียกว่า Kantakari มีบทบาททางด้านอายุรเวท เนื่องจากคุณสมบัติขับปัสสาวะ ป้องกันตับ และขับพิษ

ส่วนผสมสมุนไพรที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพองค์รวม

  1. ใบต่อก้าน (Convolvulaceae): ยาสมุนไพรชนิดนี้ มีชื่ออีกอย่างว่า Shankhpushpi มีสรรพคุณมากมายในอายุรเวท ขึ้นชื่อในด้านการเสริมสร้างสมองและความจำ
  2. หญ้าลิ้นงู (Rubiaceae): ยาสมุนไพรชนิดนี้ มีชื่ออีกอย่างว่า Echibhanga มีคุณค่าสำคัญในอายุรเวท คุณสมบัติในการต้านการอักเสบและสมานแผล ทำให้มีประโยชน์ในการรักษาโรคผิวหนังและเสริมสร้างสุขภาพโดยรวม

ชา Samahan เป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมจากสมุนไพรตามตำรับยาอายุรเวท มีคุณสมบัติช่วยระบบทางเดินหายใจ ล้างสารพิษ ต้านการอักเสบ ช่วยย่อยอาหาร เสริมภูมิคุ้มกัน และส่งเสริมสุขภาพองค์รวม สอดคล้องกับหลักการของศาสตร์อายุรเวท โดยการปรับความสมดุลของร่างกาย เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น

ปัจจุบันมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของศาสตร์อายุรเวทให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ การใช้สมุนไพรตามตำรับยาอายุรเวทเพื่อให้ผลในเรื่องการช่วยการย่อยอาหาร ล้างสารพิษ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันก็เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ดังนั้น การศึกษาและปรับใช้จึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง เพื่อปลดล็อกศักยภาพทั้งหมดของศาสตร์อายุรเวทในการส่งเสริมสุขภาพส่วนบุคคล

กลับไปยังบล็อก